Effects of PM 2.5 on the Skin and Benefits of Plant Extracts in Protecting and Restoring the Skin

ผลกระทบของ PM 2.5 ต่อผิวหนัง และ ประโยชน์ของสารสกัดจากพืชในการปกป้องและฟื้นฟูผิว

ผลกระทบของ PM 2.5 ต่อผิวหนัง

PM 2.5 (Particulate Matter ขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน) เป็นมลพิษทางอากาศที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพผิวหนังโดยตรง เนื่องจากอนุภาคขนาดเล็กสามารถแทรกซึมผ่านรูขุมขนเข้าสู่ผิวหนังได้ ก่อให้เกิดปัญหาดังนี้

  1. กระตุ้นการอักเสบและระคายเคือง – อนุภาค PM 2.5 ทำให้เกิดการอักเสบของผิว กระตุ้นการหลั่งไซโตไคน์อักเสบ (inflammatory cytokines) ทำให้เกิดผื่นแพ้และอาการแดงของผิว
  2. เพิ่มการเกิดริ้วรอยก่อนวัย – PM 2.5 กระตุ้นอนุมูลอิสระ (oxidative stress) ซึ่งทำลายคอลลาเจนและอีลาสติน ส่งผลให้เกิดริ้วรอย ความหย่อนคล้อย และความหมองคล้ำ
  3. กระตุ้นการผลิตเม็ดสีผิดปกติ – อนุภาคขนาดเล็กสามารถกระตุ้นการผลิตเม็ดสีเมลานินผิดปกติ ทำให้เกิดฝ้า กระ และจุดด่างดำ
  4. ลดความสามารถของเกราะป้องกันผิว (Skin Barrier) – PM 2.5 ทำให้ชั้นไขมันที่ช่วยปกป้องผิวอ่อนแอลง ส่งผลให้ผิวแห้ง ขาดความชุ่มชื้น และไวต่อสารก่อการระคายเคือง
  5. กระตุ้นสิวและรูขุมขนอุดตัน – สารพิษใน PM 2.5 เช่น โลหะหนักและไฮโดรคาร์บอน สามารถกระตุ้นต่อมไขมัน ทำให้เกิดการอุดตันของรูขุมขนและเกิดสิว

ประโยชน์ของสารสกัดจากพืชในการปกป้องและฟื้นฟูผิวจาก PM 2.5

1. Plantago major leaf extract (สารสกัดผักาดน้ำ หรือ หญ้าเอ็นยืด)

  • มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและกระตุ้นการซ่อมแซมเซลล์ผิว
  • ช่วยลดการระคายเคืองและฟื้นฟูเกราะป้องกันผิวที่เสียหายจาก PM 2.5
  • มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสียหายของเซลล์ผิวจากมลภาวะ

2. Centella asiatica leaf extract (สารสกัดจากใบบัวบก)

  • อุดมไปด้วยสาร Madecassoside และ Asiaticoside ที่ช่วยลดการอักเสบของผิวจาก PM 2.5
  • กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน ลดริ้วรอยก่อนวัย
  • ช่วยฟื้นฟูผิวแห้งและแพ้ง่ายจากมลภาวะ

3. Chamomilla recutita flower extract (สารสกัดจากดอกคาโมมายล์)

  • มีสาร Apigenin และ Bisabolol ซึ่งช่วยปลอบประโลมผิว ลดการระคายเคืองและอาการแพ้จาก PM 2.5
  • ลดอาการแดงของผิวจากการอักเสบ
  • มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ปกป้องผิวจากความเสียหายของมลภาวะ

4. Hamamelis virginiana extract (สารสกัดจากวิชฮาเซล)

  • มี Tannins และ Flavonoids ช่วยสมานผิวและลดการอักเสบจาก PM 2.5
  • ควบคุมความมัน ลดการอุดตันของรูขุมขนที่เกิดจากมลภาวะ
  • กระชับรูขุมขน ทำให้ผิวดูเรียบเนียนขึ้น

5. Aloe barbadensis leaf extract (สารสกัดจากว่านหางจระเข้)

  • มีสาร Polysaccharides และ Aloin ที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นและปลอบประโลมผิว
  • ช่วยซ่อมแซมผิวที่ถูกทำลายจาก PM 2.5
  • มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสียหายจากแสงแดดและมลภาวะ

6. Trigonella foenum-graecum seed extract (สารสกัดจากเมล็ดลูกซัด หรือ Fenugreek Seed)

  • อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ Flavonoids และ Saponins ที่ช่วยปกป้องผิวจากมลภาวะ
  • มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ลดการระคายเคืองของผิวที่สัมผัส PM 2.5
  • ช่วยบำรุงและฟื้นฟูความชุ่มชื้นของผิวที่ถูกทำลาย

7.สารสกัดจากไพล (Zingiber montanum)

  • มีสาร Curcuminoids และ Essential Oils ที่ช่วยต้านการอักเสบ ลดอาการแพ้และระคายเคืองผิวจาก PM 2.5
  • ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตในผิว ทำให้ผิวดูเปล่งปลั่ง มีชีวิตชีวา
  • มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ลดการเกิดสิวที่เกิดจากการอุดตันของรูขุมขน

8.สารสกัดจากมะขามป้อม (Phyllanthus emblica)

  • เป็นแหล่งวิตามินซีตามธรรมชาติที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระจาก PM 2.5
  • ช่วยลดจุดด่างดำ ปรับสีผิวให้สม่ำเสมอ และลดความหมองคล้ำจากมลภาวะ
  • ป้องกันการเกิดริ้วรอยก่อนวัยจากการทำลายของอนุมูลอิสระ

สรุป

PM 2.5 ส่งผลเสียต่อผิวหนังหลายด้าน ทั้งการอักเสบ ริ้วรอยก่อนวัย การเกิดจุดด่างดำ และการทำลายเกราะป้องกันผิว อย่างไรก็ตาม สารสกัดจากพืชธรรมชาติ เช่น Plantago major, Centella asiatica, Chamomilla recutica, Hamamelis virginiana, Aloe barbadensis, Trigonella foenum-graecum,, Zingiber montanum extract และ  Phyllanthus emblica fruit extract สามารถช่วยปกป้องผิว ลดการอักเสบ เพิ่มความชุ่มชื้น และช่วยฟื้นฟูผิวจากความเสียหายที่เกิดจากมลภาวะ

การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารสกัดจากพืชเหล่านี้ร่วมกับการป้องกันมลภาวะ เช่น การล้างหน้าหลังออกจากที่แจ้ง จะช่วยให้ผิวแข็งแรงขึ้น และลดผลกระทบจาก PM 2.5 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

头发和头皮的基础知识 Basic Knowledge About Hair and Scalp

头发和头皮是人体的重要组成部分,不仅影响外观,还能反映整体健康状况。了解头发和头皮的基本知识,有助于正确护理头发,预防脱发、头皮出油、头皮屑等常见问题。

头发的结构

发干(Hair Shaft)

头发主要由**角蛋白(Keratin)**组成,这是一种与指甲和皮肤相同的蛋白质。每根头发主要由三层结构组成:

  1. 毛小皮(Cuticle) – 头发的最外层,由重叠的角质鳞片组成,保护内部结构免受紫外线、热损伤和化学物质的影响。如果毛小皮受损或张开,头发会变得干燥、毛躁和粗糙。
  • 毛皮质(Cortex) – 头发的中层,由紧密排列的蛋白纤维组成,提供强度和弹性,并含有黑色素(Melanin),决定头发的颜色。
  • 毛髓质(Medulla) – 头发的最内层,由蛋白质和脂肪构成的小管状结构组成,通常出现在粗壮或健康的头发中。

发根(Hair Root)

发根位于头皮下方,负责生成和替换脱落的头发。发根的主要组成部分包括:

  1. 毛囊(Hair Follicle) – 深入真皮层的小孔,内部包含促进头发生长的关键结构。
  2. 毛球(Hair Bulb) – 发根底部的圆形结构,包含基质细胞(Matrix Cells),这些细胞会不断分裂并成长为新的发丝。

头发生长周期

头发从头皮中的毛囊生长,并由血管和皮脂腺提供营养支持。头发生长周期主要分为三个阶段:

  1. 生长期(Anagen Phase) – 头发持续生长,持续时间为 2-7 年。
  2. 退行期(Catagen Phase) – 头发停止生长并与血液供应分离,持续时间约 2-3 周。
  3. 休止期(Telogen Phase) – 旧发脱落,新发开始生长,持续时间约 2-4 个月。

头皮与皮脂腺功能

头皮含有皮脂腺(Sebaceous Gland),可分泌天然油脂,帮助维持头发的水分平衡。如果皮脂腺功能异常,可能导致以下问题:

  1. 头皮过油 – 可能引起头皮屑、头发扁塌,甚至导致头皮长痘。
  2. 头皮过干 – 可能导致瘙痒、脱屑或干性头皮屑。
  3. 头皮炎症 – 可能由真菌感染、过敏反应或使用不适合的产品引起。

影响头发和头皮健康的因素

头发和头皮的健康受多种因素影响,包括:

  1. 营养 – 缺乏铁、蛋白质、生物素(Biotin)和Omega-3 脂肪酸可能导致脱发和头发干枯。
  2. 激素 – **雄激素(Androgen)**可能导致遗传性脱发,**雌激素(Estrogen)**水平下降(如更年期)也可能影响头发密度。
  3. 压力和疾病 – 可能导致头发提前进入脱落期。
  4. 化学物质和热损伤 – 频繁染发、烫发、拉直或使用高温造型工具可能导致头发受损、脆弱易断。
  5. 清洁方式 – 过度洗发或使用不适合的洗发产品可能破坏头皮平衡。

正确的头发和头皮护理方法

要保持头发和头皮的健康,可以遵循以下护理方法:

  1. 选择适合的洗发水和护发素 – 头皮敏感者应选择无硫酸盐(Sulfate-Free)、无香精(Fragrance-Free)、无化学防腐剂的产品。
  2. 合理洗发 – 根据头皮状况和日常活动调整洗发频率,例如,如果经常出汗或接触灰尘,可以每天洗发。
  3. 避免频繁使用化学产品 – 如果需要染发或使用化学护理产品,建议选择天然护发产品,减少刺激。
  4. 保持健康饮食 – 摄取充足的蛋白质、维生素和矿物质,有助于头发健康生长。
  5. 关注整体健康 – 适量运动、充足睡眠和良好的压力管理有助于维持健康的头皮环境。

总结

头发和头皮的健康不仅关系到外观,还影响整体生活质量。了解头发的结构、生长周期及影响因素,有助于选择合适的护理方式,确保头发强韧、光泽、无烦恼。

如果你正经历严重脱发、头发稀疏或头皮异常问题,建议咨询专业人士,获取针对性的护理建议和治疗方案。

Basic Knowledge to Care Hair and Scalp /En

Hair and scalp are essential parts of the body that not only contribute to appearance but also reflect overall health. Understanding the basics of hair and scalp care can help maintain healthy hair, prevent hair loss, oily scalp, dandruff, and other common issues.

Structure of Hair
Hair Shaft

Hair is composed of keratin, a type of protein also found in nails and skin. Each hair strand consists of three main layers:

  1. Cuticle – The outermost layer, composed of overlapping scales that protect the inner hair structure from environmental damage such as sun exposure, heat, and chemicals. When these scales are lifted, hair appears rough, dry, and frizzy.
  2. Cortex – The middle layer, containing tightly packed protein fibers that provide strength and flexibility. It also houses melanin, which determines hair color.
  3. Medulla – The innermost layer, consisting of small hollow structures made of protein and fat. It is typically found in thick or healthy hair strands.

Hair Root

The hair root is the part located beneath the scalp, responsible for generating and producing new hair to replace shed strands. The root consists of two main components:

  1. Hair Follicle – A small pocket embedded deep in the dermis, housing structures essential for hair growth.
  2. Hair Bulb – A rounded structure at the base of the follicle containing matrix cells, which divide and grow to form new hair strands.
Hair Growth Cycle

Hair grows from the follicle embedded in the scalp, supported by blood vessels and sebaceous glands. The hair growth cycle consists of three main phases:

  1. Anagen Phase (Growth Phase) – The active growth stage, lasting 2-7 years.
  2. Catagen Phase (Transition Phase) – A short period (about 2-3 weeks) where hair stops growing and detaches from its blood supply.
  3. Telogen Phase (Resting Phase) – Lasting 2-4 months, this is when old hair sheds and new hair starts to grow in its place.
Scalp and Sebaceous Gland Function

The scalp contains sebaceous glands, which produce natural oils to keep hair moisturized. If these glands malfunction, it can lead to various scalp issues, such as:

  • Oily Scalp – Can cause dandruff, limp hair, and even scalp acne.
  • Dry Scalp – Leads to itchiness, flaking, and dry dandruff.
  • Inflamed Scalp – May result from fungal infections, allergies, or unsuitable hair products.
Factors Affecting Hair and Scalp Health

Several factors influence the health of hair and scalp, including:

  1. Nutrition – Deficiencies in iron, protein, biotin, and omega-3 can cause hair loss and dryness.
  2. Hormones – Androgen hormones (e.g., testosterone) contribute to genetic hair loss, while estrogen decline (e.g., menopause) can also affect hair density.
  3. Stress and Illness – Can push hair into the shedding phase prematurely.
  4. Chemical and Heat Exposure – Frequent hair coloring, perming, straightening, and high-heat styling can weaken and damage hair.
  5. Hair Washing Routine – Overwashing or using inappropriate shampoos can disrupt scalp balance.
Proper Hair and Scalp Care

To maintain a healthy scalp and strong hair, follow these guidelines:

  1. Choose the Right Shampoo and Conditioner – Those with sensitive scalps should opt for sulfate-free, fragrance-free, and chemical preservative-free formulas.
  2. Wash Hair Properly – Adjust frequency based on scalp condition and daily activities (e.g., wash daily if exposed to sweat and pollution).
  3. Avoid Excessive Chemical Treatments – If necessary, use natural-based products to reduce irritation.
  4. Eat a Nutrient-Rich Diet – Consume protein, vitamins, and minerals that promote hair health.
  5. Maintain Overall Health – Exercise regularly, get enough rest, and manage stress effectively.
Conclusion

Hair and scalp health is essential for both appearance and overall well-being. Understanding the structure, growth cycle, and key influencing factors allows for better hair care choices. By maintaining proper scalp hygiene, using suitable products, and following a balanced lifestyle, you can achieve strong, shiny, and problem-free hair.

 

If you experience excessive hair loss, thinning, or scalp abnormalities, consulting a specialist can help determine the best treatment options.

Basic Knowledge to Care Hair and Scalp

 

เส้นผมและหนังศีรษะเป็นองค์ประกอบสำคัญของร่างกายที่ไม่เพียงแต่มีบทบาทด้านความสวยงาม แต่ยังสะท้อนถึงสุขภาพโดยรวมของเราได้ด้วย การทำความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับเส้นผมและหนังศีรษะจะช่วยให้เราดูแลเส้นผมได้อย่างเหมาะสม ลดปัญหาผมร่วง หนังศีรษะมัน หรือรังแคที่อาจเกิดขึ้นได้

โครงสร้างของเส้นผม

เส้นผม(Hair shaft)

ประกอบไปด้วย เคราติน (Keratin) ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดเดียวกับที่พบในเล็บและผิวหนัง เส้นผมแต่ละเส้นมีโครงสร้างหลัก 3 ชั้น ได้แก่

  1. คิวติเคิล (Cuticle) – ชั้นนอกสุดของเส้นผม มีลักษณะเป็นเกล็ดซ้อนกัน ทำหน้าที่ปกป้องเนื้อในของเส้นผมจากความเสียหายจากสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น แสงแดด ความร้อน และสารเคมี โดยชั้นผิวนอกจะประกอบด้วยเกล็ดเล็ก ๆ ซ้อนทับกันเป็นแถวตามแนวยาวของเส้นผม หากเกล็ดเหล่านี้เปิดออกจะทำให้เส้นผมดูแห้งกร้าน ไม่เรียบลื่น
  2. คอร์เทกซ์ (Cortex) – ชั้นกลาง ประกอบด้วยเส้นใยโปรตีนเรียงตัวกันแบบอัดแน่น ทำหน้าที่ให้ความแข็งแรงและความยืดหยุ่นแก่เส้นผม และมีเม็ดสีเมลานินที่กำหนดสีของเส้นผม
  3. เมดุลลา (Medulla) – ชั้นในสุด  เป็นชั้นในสุดของเส้นผม มีลักษณะคล้ายท่อขนาดเล็กเรียงตัวกัน 3-4 ชั้น ซึ่งเกิดจากโปรตีนและไขมัน ส่วนมากจะพบในผมเส้นใหญ่ หรือผู้ที่มีสภาพผมแข็งแรง

รากผม(Hair root)

รากผม คือส่วนที่อยู่ใต้ผิวหนังศีรษะ ทำหน้าที่สร้างและผลิตเส้นผมใหม่ขึ้นมาแทนที่เส้นเก่าที่หลุดร่วงไป โดยโครงสร้างของรากผมจะประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ ดังนี้

  1. ต่อมรากผม (Hair Follicle) เป็นช่องเล็ก ๆ ที่ลึกลงไปในชั้นหนังแท้ของศีรษะ ภายในต่อมจะประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเส้นผม
  2. กระเปาะผม (Hair Bulb) เป็นส่วนปลายของรากผมที่มีลักษณะเป็นก้อนกลมนูน ประกอบด้วยเมทริกซ์เซลล์ (Matrix Cells) ซึ่งเป็นเซลล์ต้นกำเนิดที่จะแบ่งตัวและเจริญเติบโตกลายเป็นเส้นผม

รากผมและวงจรชีวิตของเส้นผม

เส้นผมเจริญเติบโตจากรากผม (Hair Follicle) ที่ฝังอยู่ในหนังศีรษะ มีเส้นเลือดและต่อมไขมันคอยหล่อเลี้ยง วงจรชีวิตของเส้นผมแบ่งเป็น 3 ระยะหลัก ได้แก่

  1. ระยะเจริญเติบโต (Anagen Phase) – ช่วงที่เส้นผมงอกยาวอย่างต่อเนื่อง ใช้เวลานาน 2-7 ปี
  2. ระยะหยุดเจริญเติบโต (Catagen Phase) – ระยะเปลี่ยนผ่านที่เส้นผมหยุดการเจริญเติบโต กินเวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์
  3. ระยะหลุดร่วง (Telogen Phase) – ช่วงที่เส้นผมเก่าหลุดออก และมีเส้นผมใหม่ขึ้นมาแทนที่ ใช้เวลาประมาณ 2-4 เดือน

หนังศีรษะและการทำงานของต่อมไขมัน

หนังศีรษะมีต่อมไขมัน (Sebaceous Gland) ทำหน้าที่ผลิตน้ำมันธรรมชาติที่ช่วยรักษาความชุ่มชื้นของเส้นผม หากต่อมไขมันทำงานผิดปกติอาจส่งผลให้หนังศีรษะมีปัญหา เช่น

  • หนังศีรษะมันเกินไป – อาจทำให้เกิดรังแค ผมลีบแบน และมีความเสี่ยงต่อการเกิดสิวที่หนังศีรษะ
  • หนังศีรษะแห้งเกินไป – ทำให้เกิดอาการคัน ลอกเป็นขุย หรือมีรังแคแห้ง
  • หนังศีรษะอักเสบ – อาจเกิดจากเชื้อรา ภูมิแพ้ หรือการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสม

ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพเส้นผมและหนังศีรษะ

สุขภาพของเส้นผมและหนังศีรษะได้รับอิทธิพลจากหลายปัจจัย ได้แก่

  • โภชนาการ – การขาดสารอาหาร เช่น ธาตุเหล็ก โปรตีน ไบโอติน และโอเมก้า-3 อาจทำให้ผมร่วงหรือผมแห้งเสีย
  • ฮอร์โมน – ฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) มีผลต่อการหลุดร่วงของเส้นผม โดยเฉพาะในผู้ที่มีภาวะศีรษะล้านแบบพันธุกรรม, ฮอร์โมนเอสโตรเจน( Estrogen)ลดลง เช่น ภาวะวัยทอง
  • ความเครียด และการเจ็บป่วย– ส่งผลให้เส้นผมเข้าสู่ระยะหลุดร่วงเร็วกว่าปกติ
  • การใช้สารเคมีและความร้อน – การทำสี ดัด ยืด หรือใช้ความร้อนสูงบ่อย ๆ อาจทำให้เส้นผมแห้งเสียและเปราะขาด
  • การทำความสะอาด – การสระผมบ่อยเกินไปหรือใช้แชมพูที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้หนังศีรษะเสียสมดุล

การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะอย่างถูกต้อง

เพื่อสุขภาพเส้นผมและหนังศีรษะที่ดี ควรปฏิบัติตามแนวทางดังนี้

  1. เลือกแชมพูและครีมนวดที่เหมาะสม – สำหรับผู้ที่มีปัญหาเส้นผมและหนังศีรษะ ควรเลือกแชมพูที่ปราศจากสารที่ก่อการระคายเคือง เช่น ปราศจากสารซัลเฟต(Sulfate-free), ปราศจากน้ำหอมสังเคราะห์(Synthetic perfume-free) ปราศจากสารกันเสียชนิดเคมี
  2. สระผมอย่างเหมาะสม – ตามสภาพของหนังศีรษะและกิจวัตรประจำวัน เช่น เหงื่อออกหรือถูกฝุ่นมากควรสระผมทุกวัน
  3. หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีบ่อยเกินไป – หากจำเป็นต้องทำสีผมหรือใช้สารเคมี ควรใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่ช่วยลดการระคายเคือง
  4. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ – ควรบริโภคอาหารที่มีโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุที่ช่วยบำรุงเส้นผม
  5. ดูแลสุขภาพโดยรวม – ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ และจัดการความเครียด

สรุป

เส้นผมและหนังศีรษะเป็นส่วนสำคัญที่ควรได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม การเข้าใจโครงสร้างและวงจรชีวิตของเส้นผม รวมถึงปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพหนังศีรษะ จะช่วยให้สามารถเลือกวิธีดูแลได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้เส้นผมแข็งแรง เงางาม และปราศจากปัญหาที่อาจเกิดขึ้น

หากคุณมีปัญหาผมร่วง ผมบาง หรือหนังศีรษะผิดปกติ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับคำแนะนำและการรักษาที่เหมาะสม